วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์ยังสอนอยู่ในบทที่ 1 ต่อในเรื่องรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย มีดังนี้
  1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็นความต่างความเหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
   2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
   3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ
   ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
   1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
     •มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
     •ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
     •จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
     •เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
     •จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
     •บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
     •เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
     •มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
     •เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
   2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
     •สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
     • สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
     • วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
     • ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
     • บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
     •มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
     •มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
     •เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อวานนี้เป็นต้น
   3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
     •สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
     •ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
     •จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
     •วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
     •และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
     •วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
     •บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
     •มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
     •มีความสนใจในความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ดีขึ้น
  4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
 •สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
 •ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
 •นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
 •จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
 •รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
 •จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
 •มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
 •มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่
เกิดขึ้นได้

ประเมินตนเอง   :ตั้งใจเรียน มีแอบคุยบ้าง
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง ใจดี สอนเข้าใจ
ประเมินเพื่อน          :ตั้งใจเรียน มีแอบคุยบ้าง 



บทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
การเล่นของเด็กมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไปตามด้วยวัย บางทฤษฎีแบ่งพัฒนาการของการเล่นของเด็กปฐมวัยได้ดังนี้ เด็กเล็กๆ จะเล่นแบบสำรวจ เช่น เขย่าของเล่นเพื่อให้เกิดเสียง หยิบสิ่งของเข้าปาก เด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป จะเล่นแบบมีสัญลักษณ์คือ เล่นแบบมีเรื่องราว มีการสมมติตัวเองเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ วัย 4 ขวบ จะเริ่มเล่นแบบสร้างสรรค์เห็นได้ชัดจากการนำไม้บล็อคมาต่อเป็นสิ่งต่างๆ วัยนี้จะเล่นแบบมีลักษณะของการแก้ปัญหามากขึ้น เป็นความคิดรวบยอดมากขึ้น ส่วนวัย 5-6 ขวบ จะเล่นแบบใช้จินตนาการซึ่งถือเป็นการเล่นชั้นสูงที่ระดมเอาทักษะทั้งหมดก่อนหน้านี้เข้าไว้ด้วยกัน
         ขณะที่อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่า การเล่นสามารถสะท้อนพัฒนาการของเด็กได้ว่าเขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เพียงใดโดยที่เด็กปกติจะมีพัฒนาในการเล่นที่ต่างกันไป เด็กเล็ก 0-2 ขวบ จะยังไม่เล่นแต่จะมองคนอื่นเล่น วัยเตาะแตะจะเริ่มเล่นคนเดียว เด็กวัย 2-3 ขวบ จะเล่นแบบคู่ขนานคือ สามารถเล่นกับเด็กคนอื่นได้แต่จะไม่เล่นร่วมกัน วัย 4 ขวบ จะเล่นร่วมกับเพื่อนแต่จะไม่มีการแบ่งบทบาทการเล่น และไม่เกิดการสร้างเรื่องราวร่วมกัน ส่วนวัย 5-6 ขวบ จะเริ่มเล่นแบบร่วมมือกัน

         การเลือกของเล่นให้เด็กจึงต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของพัฒนาการการเล่นในแต่ละวัยด้วย โดยเด็กแรกเกิดถึงขวบปีแรกประสาทสัมผัสทุกอย่างจะพัฒนาอย่างรวดเร็วของเล่นจึงต้องเป็นประเภทที่ตอบสนองต่อการเติบโตของประสาทสัมผัสนั้นๆ เด็กวัยเตาะแตะจะชอบของเล่นที่มีเสียงเช่น โทรศัพท์จำลอง ของเล่นบิดเกลียว วัย 3 ขวบ เด็กจะเริ่มมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นเริ่มสนใจสิ่งมีชีวิตมากขึ้น ของเล่นที่เป็นตัวสัตว์ ตุ๊กตุ่นตุ๊กตาจะเป็นที่ชื่นชอบของเด็กวัยนี้รวมถึงของเล่นประเภทก่อสร้างเช่น ไม้บล็อค หนังสือเองก็จะเข้ามามีอิทธิพลในขวบปีนี้เช่นเดียวกัน ย่างเข้าอายุ 4 ขวบ เด็กวัยนี้จะชอบของเล่นที่มีความซับซ้อนขึ้น เช่น ของเล่นแนววิทยาศาสตร์อย่างการเป่าฟองสบู่ เด็กวัย 5-6 ขวบ จะชอบของเล่นที่มีเครื่องยนต์กลไกหรือของเล่นที่เทคนิคพิเศษมากขึ้น เช่น ของเล่นที่มีมอเตอร์ เป็นต้น
   
 ที่มา http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=7852&Key=news_research
        ผู้เขียน รานี ดวงกล้า

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ2560

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้เป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรก อาจารย์ได้แนะนำวิชาว่าเรียนเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย บอกการให้คะแนนของวิชานี้ และได้ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียนว่า เรารู้จักความหมายของคำว่าสื่อมากเพียงใด พอหลังจากทำแบบทดสอบเสร็จ อาจารย์ได้เริ่มสอนบทเรียนบทที่ 1 เรื่องธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีเนื้อหาดังนี้
   ธรรมชาติของเด็ก
   1.ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
   2.มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
   3.ต้องการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
   4.เป็นวัยที่ชอบอิสระ
   5.ชอบแสดงออกและต้องการยอมรับ 
   6.ชอบเล่น
   7.มีช่วงความสนใจสั้น
   การเรียนรู้ของเด็ก
   1.การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
   2.การเรียนรู้จากประสบการณ์อ้อม
   การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
   1.มีสิ่งเร้ามาเร้าผู้เรียน
   2.ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า
   3.ผู้เรียนแปลความหมายของสิ่งเร้า
   4.ผู้เรียนมีปฎิกิริยาตอบสนอง
   5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
  

ประเมินตนเอง   :ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง สอนเข้าใจ
ประเมินเพื่อน   :ตั้งใจฟัง ไม่คุยกัน