วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 19 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
   สำหรับงานที่อาจารย์ให้กลับไปทำอาทิตย์ที่แล้ว อาจารย์ยังไม่ได้กำหนดส่งแต่อาจารย์มีตัวอย่างมาให้ดู คือ 2 แบบนี้








       และวันนี้อาจารย์ได้เริ่มสอนวิธีการทำสื่อในรูปแบบใหม่ แต่งาน 2 ชิ้นนี้อาจารย์ให้ทำเป็นกลุ่มโดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดู ดังนี้





       ต่อจากนั้นอาจารยืก็แจกอุปกรณ์ให้เริ่มทำ กลุ่มของดิฉันก็ช่วยกันคิดออกแบบว่าจะทำเป็นรูปอะไร หลังจากที่ตกลงกันได้ก็เริ่มลงมือช่วยกันทำ จนสำเร็จทั้ง 2 แบบออกมาได้ดังนี้





     


    และเมื่อทุกกลุ่มทำเสร็จ ก็นำมาวางให้เพื่อนแต่ละกลุ่มดู


ประเมินตนเอง :ตั้งใจทำงาน ช่วยเพื่อนทำงาน
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง ใจดี ให้คำแนะนำเวลาทำงาน
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจทำงาน ช่วยกันทำงานทุกกลุ่ม
















วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 12 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
 วันนี้อาจารย์เริ่มบทเรียนด้วยการให้นักศึกษาออกมาเล่าบทความที่ตัวเองหามา ดิฉันได้ออกไปเล่าบทความที่ดิฉันหามาเรื่อง การเล่นของเด็กปฐมวัย

 ต่อมาอาจารย์ได้สอนทำสื่อมีทั้งหมด 5 ชิ้นงาน

ชิ้นที่ 1 การด์ป๊อปอัพดอกไม้


ชิ้นที่ 2 เป็นการหมุนไปมา


ชิ้นที่ 3 แม่ไก่ออกไข่

        ยังขาดอีก 2 ชิ้น อาจารย์ให้นักศึกษากลับไปทำที่บ้านแล้วนำมาส่งในอาทิตย์หน้า และนี่คือบรรยากาศภายในห้อง



ประเมินตนเอง :ตั้งใจฟัง ทำตามทุกขั้นตอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง ใจดี อธิบายเข้าใจ
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

  

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

วันอังคาร ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
      วันนี้อาจารย์ไ้เริ่มสอนในบทที่ 4 เรื่องกระบวนการใช้สื่อประกอบการสอน อาจารณ์ยกตัวอย่างของเกมมาให้ดู
      สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก  ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ
      จุดมุ่งหมายของเกม
1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน
2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา
3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม
4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง

6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
   เกมการศึกษา หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
   ประเภทของเกมการศึกษา
    1) เกมการจับคู่
(1) สิ่งที่เหมือนกัน
(2) สิ่งที่สัมพันธ์กัน
(3) สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน
(4) สิ่งที่ขาดหายไป
    2) เกมการจัดหมวดหมู่
    3) เกมภาพตัดต่อ
    4) เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง
(1) เรียงลำดับเหตุการณ์
(2) เรียงลำดับขนาด
(3) เรียงลำดับจำนวน
    5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน
    6) เกมตารางสัมพันธ์
    7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
    8) เกมลอตโต
ประเมินตนเอง :ตั้งใจฟัง อาจจะมีเล่นบ้าง
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง ใจดี สอนเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังอาจจะมีคุยกันบ้าง

วันอังคาร ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2560
ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้อาจารย์ได้เริ่มสอนในบทที่ 3 เรื่องสื่อ การเล่นพัฒนาของเด็กปฐมวัย
    สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์
      ลักษณะของสื่อการสอนเด็กปฐมวัย
1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก
3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก
4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง
6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม
7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)
8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า
9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้

10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้
     ความสำคัญของสื่อ
1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง
2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง
3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี
4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม
5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก
7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก
8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส
9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา
10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ
11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ
12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ
13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ
15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ
      และหลังจากที่อาจารย์อธิบายเพาเวอร์พอยเสร็จ อาจารณืได้ให้ทำกิจกรรมวิเคราะห์สื่อ โดยให้นักศึกษาเตรียมสื่อที่มีอยู่ที่บ้านมา และมาวิเคราะห์ ดังนี้












                และนี่คือสื่อที่ดิฉันเตรียมมา ชื่อสื่อว่า กล่องแยกรูปทรง กล่องนี้สามารถสอนเด็กในกรแยกรูปทรงเรขาคณิตได้เบื้องต้น เหมาะสำหรับเด็ก3-4ปี เป็นสื่อประเภทวัสดุ สอดคล้องกับวิชาคณิตศาสตร์และศิลปะ และยังเสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดังนี้
       ด้านร่างกาย เด็กได้ขยันกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่
       ด้านอารมณ์ เด็กได้เล่นกับเพื่อน เกิดความสนุกสนาน
       ด้านสังคม เด็กได้พูดคุยกับเพื่อน แลกเปลี่ยนความคิด
       ด้านสติปัญญา เด็กได้เรียนรู้รูปทรงต่างๆของเรขาคณิต
ประเมินตนเอง :ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมได้ดี
ประเมินอาจารย์ :เป็นกันเอง อธิบายเข้าใจ
ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟัง ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม